เม็ดแมงลัก

ชื่อสมุนไพร : แมงลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum × citriodorum
ชื่อวงศ์ : Lamiaceae
สกุล : Ocimum
อณาจักร : Plantae
หมวด : Magnoliophyta
ชั้น : Magnoliopsida
อันดับ : Lamiales
ชนิด : O. × citriodorum
ชื่ออื่น ๆ ของต้นแมงลัก : มังลัก (ภาคกลาง), กอมก้อขาว (ภาคเหนือ), ผักอีตู่ (เลย)

     สมุนไพร แมงลัก จัดว่าเป็นพืชล้มลุกในสกุลเดียวกับกะเพราและโหระพา แมงลักจะมีใบที่เล็กกว่า และมีสีที่อ่อนกว่า บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า
ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil(hoary ซึ่งแปลว่าผมหงอก) เหตุที่แปลว่าผมหงอกก็ได้มาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาว ๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อนของแมงลักนั้นเอง จนต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil
ตามลักษณะกลิ่นที่คล้าย ๆ กลิ่น ส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil

แมงลักแมงลักส่วนใหญ่ที่คนมักนำไปใช้ทั้งใบและเมล็ด ใบแมงลักจะมีกลิ่นฉุน ใช้ในการประกอบอาหารเช่นเดียวกับใบกะเพราและใบโหระพา และจะเห็นคนนิยมทานกันกับขนมจีน หรือใส่เพื่อเพิ่มความหอมเป็นเครื่องแกงต่าง ๆ
ส่วนของเมล็ดแมงลักจะใช้ทำเป็นขนมได้ นอกจากนี้เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมสำหรับลดความอ้วนได้อีกด้วย

ในประเทศไทยนั้นมี แมงลัก พันธุ์ศรแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักเพียงแค่สายพันธุ์เดียวเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นพันธุ์ผสมหรือพันทาง และลักษณะของพันธุ์ศรแดงที่ดีนั้น ใบจะต้องใหญ่พอดิบพอดี ไม่เล็กจนแคระแกร็น
ดอกสีขาวเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร

ลักษณะโดยทั่วไปของแมงลัก

ต้นของแมงลัก เป็นไม้พรรณประเภทไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ลำต้นจะมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 2-3 ฟุตเท่านั้น บริเวณโคนลำต้นจะแข็งและแตกกิ่งก้านสาขาออกมามากมาย กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม
ส่วนของใบแมงลัก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบเป็นทรงรี ปลายใบจะแหลม ๆ มีสีเขียวอ่อนและที่สำคัญจะมีขนอ่อน ๆ นิ่ม ๆ เมื่อขยี้ใบจะส่งกลิ่นหอม
ดอกจะออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่งหรือจะออกที่ยอด ดอกมีลักษณะเป็นกลีบสีขาว ดอกจะคงทนและอยู่ได้นาน
ส่วนของผลนั้นเมื่อกลีบดอกร่วงก็จะกลายเป็นผล ผลแมงลักนั้นมีขนาดค่อนข้างเล็ก สีน้ำตาลเข้ม ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เม็ด

สรรพคุณของสมุนไพรแมงลัก

เม็ดแมงลัก ถือเป็นสมุนไพรชั่นยอดอีกชนิดหนึ่งที่มีราคาถูก และหาซื้อก็ง่ายแสนง่าย เมื่อเรียกว่าสมุนไพรแล้วย่อมจะต้องมีสรรพคุณดี ๆ ดังต่อไปนี้

สมุนไพรแมงลัก,Sweet basil,ใบแมงลัก,ต้นแมงลัก,เม็ดแมงลัก,สมุนไพรควบคุมน้ำหนัก,สมุนไพรลดความอ้วน,สมุนไพรใช้ทำยาระบาย,สมุนไพรรักษาหลอดลมอักเสบ,สมุนไพรรักษาโรคท้องร่วง,สมุนไพรรักษาโรคทางเดินอาหาร,สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังทุกชนิดดอกแมงลัก

แมงลักนั้นมีสรรพคุณในการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเม็ดแมงลักไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และสามารถพองตัวได้ถึง 45 เท่า เมื่อนำมารับประทานก่อนอาหารก็จะช่วยให้เรานั้นมีความรู้สึกอิ่มท้อง
และสามารถควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานได้เป็นอย่างดี สามารถนำมาใช้ในการลดความอ้วนและช่วยขับคอเลสเตอรอลไม่ดีออกจากร่างกาย โดยเส้นใยของแมงลักจะดูดซับไขมันต่าง ๆ ไว้ เมื่อร่างกายเราไม่สามารถย่อยกากใยพวกนี้ได้
ไขมันไม่ดี (LDL-cholesterol) ก็จะถูกขับออกมาพร้อม ๆ กับเส้นใยของแมงลักแต่ไม่มีผลเสียแต่อย่างใด ต่อ HDL-cholesterol ที่เป็นไขมันดี ดังนั้นการรับประทานเม็ดแมงลักเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้อีกด้วยด้วย
เม็ดแมงลักมีลักษณะนิ่มและลื่น กลืนก็ง่ายเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาช่วงลำคอ และการที่เม็ดแมงลักพองตัวมาก ทำให้ร่างกายคนเรานั้นดูดซึมสารอาหารได้ช้าลง ผู้ป่วยโรคเบาหวานนิยมนำมาใช้เพื่อให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลลดลงด้วย
แมงลักมีสรรพคุณเป็นยาระบาย บริเวณเปลือกนอกของเม็ดเป็นสารเมือกขาว และยังมีกากอาหาร ทำให้อุจจาระไม่เกาะกับลำไส้ จึงช่วยให้ผู้ที่รับประทานแมงลักเข้าไปสามารถขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเม็ดแมงลักจะเข้าไปกระตุ้นประสาทที่อยู่รอบ ๆ
ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้เกิดปวดท้องหนัก

ประโยชน์สรรพคุณของสมุนไพรแมงลักในแต่ละส่วน

เริ่มจากส่วนที่คนนำมาใช้มากที่สุดคือ ใบแมงลัก โดยการใช้ใบสด ๆ นำมาตำให้ละเอียดแล้วจึงค่อยคั้นเอาน้ำที่ได้มาใช้กิน สามารถทำเป็นยาแก้หวัดได้ แก้หลอดลมอักเสบ หรือจะใช้แก้โรคท้องร่วง
ส่วนกากใบที่ตำนั้นไม่ต้องทิ้่งยังสามารถนำมาทาแก้โรคผิวหนังได้ทุกชนิดอีกด้วย
ส่วน เม็ดแมงลัก ใช้เมล็ดแห้ง แล้วนำเอามามาแช่ในน้ำจะเกิดการพองตัวสามารถนำมาใช้กินเป็นยาระบายได้ มีคุณสมบัติลดความอ้วนได้ด้วย ไหนจะช่วยดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด ขับเหงื่อ และช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระเป็นเมือกลื่น ๆ ในลำไส้ได้ดีอีกด้วย
ส่วนของลำต้นแมงลัก จะใช้ลำต้นสด ๆ นำเอามาต้มเอาน้ำมาใช้ดื่มใช้เป็นยาแก้ไอและสามารถขับเหงื่อ ขับลม กระตุ้น ทั้งยังแก้โรคทางเดินอาหารให้ดียิ่งขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

แมงลักมีโปรตีน 3.8 กรัมต่อน้ำหนักใบสด 100 กรัม ซึ่งจะมีสูงกว่ากะเพราและโหระพา ซึ่งข้อมูลนั้นได้มากจากกองโภชนาการ กรมอนามัยได้มีรายงานว่า แมงลัก 1 ขีด มีบีต้า-แคโรทีนสูงถึง 590.56 ไมโครกรัม
เทียบหน่วยเรตินัลจะสูงกว่ากะเพราและโหระพา และยังมีแคลเซียม 140 มิลลิกรัม ส่วนกรมส่งเสริมการเกษตรระบุเอาไว้ว่า ในใบแมงลักจะให้พลังงาน 0.032 กิโลแคลอรี่ และมีวิตามินเอ 9,164 หน่วยสากล และมีวิตามินบี2 อยู่ประมาณ 0.14 มิลลิกรัม
ซึ่งตัวนี้จะมีน้อยกว่ากะเพราและโหระพา แต่แร่ธาตุอื่นๆ นั้นใบแมงลักจะมีสูงกว่า อย่างเช่น มีไขมันสูงถึง 0.8 กรัม มีแป้งมากถึง 11.1 กรัม แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม มีเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.30 มิลลิกรัม และวิตามินซี 78 มิลลิกรัม

เม็ดแมงลัก

การปลูกเลี้ยงแมงลัก

ต้นแมงลักจะสามารถปลูกได้โดยใช้กิ่งชำ หรือจะใช้เมล็ดมาเพาะเป็นต้นกล้าแล้วจึงค่อยย้ายปลูกก็ได้ เมื่อเมล็ดแมงลักนั้นงอกขึ้นมาได้อายุ 1 เดือน จึงค่อยนำมาลงแปลงดินที่เตรียมดินไว้
ควรเว้นระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวโดยประมาณอย่างน้อย ๆ 40 เซนติเมตร แต่ถ้าเมื่อถอนขึ้นมาก่อนนำไปปลูกลงดินจะต้องตัดยอดแมงลักนั้นทิ้งก่อน หรือให้ง่ายก็ตัดออกครึ่งต้นเลยก็ได้ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็ควรตัดแต่งรากด้วย
เพราะแมงลักที่ตัดแต่ง รากจะงอกงามดียิ่งกว่าต้นที่ไม่ได้ทำอะไรเลย แต่ทั้งนี้เวลานำแมงลักไปปลูกก็จำเป็นต้องรดน้ำด้วย ใช้ปลูกหลุมละ 2-3 ต้น เมื่อโต กิ่งก้านใบก็จะคลุมถึงกันหมด

การเลือกพื้นที่สำหรับใช้ปลูก

แมงลักเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุอยู่ประมาณ 1-2 ปี เท่านั้น ปลูกครั้งเดียวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นานและใน ทุก 15-20 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง และการเลือกพื้นที่ปลูกควรเป็นที่ดอน
แต่ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำจะดีเพราะสามารถนำน้ำมาใช้รดได้สะดวกและจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขัง ปกติแล้วแมงลักจะสามารถขึ้นได้ดีในทุกสภาพดินอยู่แล้ว แต่แมงลักจะชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำดี และปลอดจากลมแรง ๆ

แมงลัก1การเตรียมดินที่ใช้ปลูกแมงลัก

ให้ไถดินให้ลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร แล้วตากดินไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วจึงย่อยดินให้ละเอียดอีกครั้ง หาปูนขาวมาโรยในอัตรา 100-300 กิโลกรัม / ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก 2,000 กิโลกรัม / ไร่
ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ในอัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้ทั่วๆ แล้วยกแปลงขึ้นให้สูง ประมาณ 30 เซนติเมตร

การดูแล

ควรจะรดน้ำให้สม่ำเสมอ วันละ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หลังเพาะกล้าได้ 7 วัน และครั้งที่ 2 ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-11-11 ในอัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากครั้งแรก 15 วัน

การเก็บเกี่ยว

ใช้มีดตัดเอากิ่งที่เจริญเติบโตเต็มที่ แล้วมัดเพื่อนำไปขาย สามารถเก็บเกี่ยวได้หลาย ๆ ครั้งแต่ถ้ายังไม่มีผู้รับซื้อเกษตรกรก็สามารถชะลอการเก็บเกี่ยวออกไปได้ โดยวิธีการเด็ดยอดที่มีดอกทิ้ง
จนถึงระยะเวลา 7-8 เดือน หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลงเรื่อยๆ เกษตรกรจึงควรทำการถอนทิ้งเพื่อปลูกใหม่
แหล่งเพาะปลูกแมงลักภายในประเทศไทย ให้ผลผลิตเพียง 112 กิโลกรัม ต่อพื้นที่เพียง 148 ไร่เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราส่วนผลผลิตต่อไร่ ที่น้อยมากเมื่อเทียบกับกะเพรา และโหระพา

สมุนไพร จาก Thaiherbtherapy.com