มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb
สรรพคุณจากสมุนไพรพลูคาว คือจะช่วยยืดอายุของผู้ป่วยให้อยู่เพื่อสู้โรคมะเร็งได้นานยิ่งขึ้น
พลูคาว หรือชื่อที่เรียกกันว่า ผักคาวตอง เป็นไม้เลื้อยประเภทล้มลุก ถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู แต่อายุอยู่ได้หลายปี ขึ้นอยู่ตามแถวภาคเหนือ ลำต้นจะเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน รากแตกออกตามข้อ ทั้งต้นมีกลิ่นคาวเหมือนกับกลิ่นของคาวปลาอย่างรุนแรง คล้ายปลาช่อน การขยายพันธุ์โดยการปักชำ ชอบขึ้นตามริมห้วยต่าง ๆ หรือมักจะพบขี้นที่ ที่ชื้นแฉะริมน้ำ มีร่มเงาเล็กน้อยในสภาพอากาศที่เย็น

 

สรรพคุณของสมุนไพร พลูคาว หรือ คาวตอง

1. ใช้รักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะเกี่ยวกับมะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก
2. เนื้องอกในสมอง
3. ริดสีดวงทวาร โดยไม่ต้องผ่าตัด
4. โรคกามโรค
5. โรคผิวหนัง
6. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
7. เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว รักษาอาการอักเสบต่าง ๆ เช่น ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ตาอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ
8. เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา หูชั้นกลางอักเสบ

ส่วนใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปทรงคล้ายรูปหัวใจกว้าง โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบ มีก้านใบที่ยาว ส่วนของใต้ใบจะมีสีแดงอ่อนถึงสีแดงเข้ม โคนก้านแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก จะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกบานมีใบประดับที่โคนดอกเป็นสีขาว มี 4 กลีบ ในแต่ละช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก อัดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอก สีจะออกเหลืองอ่อน ๆ
ผล เป็นผลแห้งแตกได้

การใช้บริโภค
นำพลูคาวมาต้ม โดยให้ผู้ป่วยดื่มบำรุงร่างกาย และใช้ร่วมกับการรักษาของคณะแพทย์โดยการฉายรังสี ปรากฏว่า สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยมะเร็งได้ดี ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากขึ้น ทำให้อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ดีขึ้นมากและยังสามารถยืดอายุของผู้ป่วยให้สามารถสู่กับโรคได้นานขึ้นด้วย ซึ่งดีกว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

แหล่งที่สามารถพบ พลูคาว
พลูคาว เป็นพืชสมุนไพรประจำภาคเหนือของประเทศไทย และยังสามารถพบได้ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัยในประเทศอินเดีย
และจีนมาจนถึง
ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเช่น ไทย เวียดนาม ลาว และไปทาง เกาหลี และญี่ปุ่น พลูคาวถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อยและสภาพอากาศเย็น โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างจากพลูออกไป คือ บริเวณส่วนใต้ใบของพลูคาวจะ มีสีแดงอ่อน ๆ ไปจนถึงสีแดงเข้ม คนในภาคเหนือจะเรียกว่า ผักคาวตอง ก็เนื่องด้วยลำต้นต้นและใบจะมีกลิ่นคาวที่รุนแรงเหมือนกับกลิ่นของคาวปลา ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมนำใบมาเป็นผักเคียงใช้บริโภคแบบสดกับอาหารประเภทลาบหรือหลู้ ส่วนการบริโภคของทางประเทศจีนจะใช้พลูคาวในตำรับยาหลักนับเป็นสมุนไพรชั้นสูง

เราจะสังเกตุเห็นว่าประชาชนในภาคเหนือนั้นจะเป็น โรคมะเร็ง น้อยกว่าคนภาคอื่น ๆ ก็เพราะคนทางเหนือเราันั้นรับประทานพลูคาวอยู่เป็นประจำเกือบจะทุกครัวเรือน และยังมีหมอแผนโบราณทางเหนือยังเคยใช้พลูคาวมารักษาผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงทวาร ทำให้หายเจ็บปวดโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด เพราะเหตุนี้จึงทำให้คณะนักวิจัยที่ ประกอบด้วย รศ.มณเฑียร เปสี, ศ.น.พ.พงษ์ศิริ ปรารถนาดี, รศ.น.พ.สุขชาติ เกิดผล, Contracts ผศ.ดร.วิจิตร เกิดผล และผศ. ดุษฎี มุสิกโปดก ซึ่งเป็นคณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยขอนแก่น นั้นได้ให้ความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้พลูคาวรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง

ในเบื้องต้นคณะนักวิจัยได้นำพลูคาวจากแปลงเกษตรอินทรีย์ ที่ได้มาจากสวนดอยหลวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลูกพลูคาวตามระบบเกษตรอินทรีย์มากกว่า 30 ไร่ มาวิจัยและได้ทดลองผลิตมาเป็นยาน้ำสมุนไพรเพื่อใช้บำรุงร่างกาย โดยการผ่านกรรมวิธีการหมักและผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาตั้งแต่ดั้งเดิมกับเทคโนโลยีชีวภาพ в?д (NanoTechnology) ในสมัยปัจจุบัน โดยมีการใช้สมุนไพรพลูคาวนั้นเป็นสารตั้งต้น

ในขณะเดียวกันคณะนักวิจัยยังได้ทราบข้อเท็จจริงที่ว่า บริเวณสีแดงที่อยู่ใต้ใบพลูคาว เป็นตัวชี้วัดว่ามีเภสัชสาร ซึ่งเป็นสารเฮลตีแบคทีเรีย มีจุลินทรีย์และแลคโตบาซิลลัสสายพันธุ์หนึ่ง ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับในร่างกายของมนุษย์ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และทั้งยังสามารถไปยับยั้งการเจริญเติบโตและต้านทานเนื้องอกต่าง ๆ (Anti-tumor) และยังช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้อย่างค่อนข้างดีเลยทีเดียว

หลังจากที่สกัดพลูคาวเป็นยาน้ำ และผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมแล้ว จึงได้เริ่มที่จะน้ำตัวยาที่สะกัดจากพลูคาวเข้ามาทดลองในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง SA3D 5 ชนิด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก เนื้องอกบริเวณสมอง และเนื้องอกของ Soft tissue sarcoma โดยใช้ร่วมกับโดยให้ผู้ป่วยดื่มบำรุงร่างกาย พร้อมกับการรักษาของคณะแพทย์โดยการฉายรังสี ได้ผมปรากฏว่า สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งได้ ทั้งยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้ดีมากขึ้น จนทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ และยืดอายุของผู้ป่วยได้นานมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งดีกว่าการรักษาด้วยวิธีการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว

ในปี พ.ศ. 2548 จึงได้มีการส่งผลิตภัณฑ์จากพลูคาวดังกล่าว ไปทดลองตลาดในกลุ่มยุโรปหรืออียู และสิงคโปร์พบว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์สมุนไพรพลูคาวของไทยค่อนข้างมาก จึงทำให้มูลค่าในการส่งออกรวมกว่าประมาณ 25 ล้านบาท แบ่งเป็น อียู 15 ล้านบาท สิงคโปร์ประมาณ 10 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2549 นี้ ได้ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการส่งออกไว้ ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกหลัก ๆ คือ กลุ่มประเทศอียู และลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม หากใช้รักษาควบคู่กับการฉายรังสีซึ่งเป็นวิธีแพทย์แผนปัจจุบัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากยิ่งขึ้น

จากประสิทธิภาพของพลูคาวที่ผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศเริ่มให้การยอมรับมาขึ้นเรือย ๆ และเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้ขณะนี้มีคณะแพทย์และเภสัชกรจากมหาวิทยาลัยต่าง Story ๆ ทั่วประเทศ เริ่มหันมาให้ความสนใจที่จะศึกษาวิจัยสมุนไพรพลูคาวเพิ่มเติม รวมกว่า 10 โครงการวิจัย เพื่อเป็นความหวังและต่ออายุให้กับผู้ป่วยมะเร็งในอนาคต

หากงานวิจัยประสบผลสำเร็จ สมุนไพรพลูคาวของไทย จะกลายเป็นพืชสมุนไพรสร้างชื่อ สร้างชาติให้กับประเทศไทยได้ในพริบตา จึงทำให้พืชชนิดนี้เป็นที่น่าจับตามองอีกพืชหนึ่ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์

สมุนไพรพูลคาว จาก Thaiherbtherapy.com