ชื่อวิทยาศาสตร์ของ ตะไคร้ : Cymbopogon nardus Rendle
ชื่อสามัญ : Citronella grass
วงศ์ : GRAMINEAE
ชื่ออื่น : จะไคมะขูด ตะไคร้มะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะโดยทั่วไปทางพฤกษศาสตร์ของต้น ตะไคร้ :
ตะไคร้ เป็น ไม้ล้มลุกสามารถมีอายุอยู่ได้หลายปี ความสูงประมาณ 0.75 – 1.2 เมตร แตกเป็นกอ ส่วนเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องจะสั้นมาก ส่วนใบของต้นตะไคร้หอมจะมีสีเขียวปนม่วงแดง ใบยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน มีความกว้างประมาณ 1-2 ซม. และยาวได้ถึง 70-100 ซม. ด้านแผ่นใบและขอบใบจะมีความสากและคมสามารถบาดมือได้
ความแตกต่างระหว่าง ตะไคร้หอม กับ ตะไคร้ธรรมดา คือ ใบของตะไคร้หอมจะมีความยาวและนิ่มกว่าธรรมดาเล็กน้อย ส่วนใบจะห้อยส่วนปลายลงปรกดินกว่า ดอก ช่อจะมีสีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้คือ : ส่วนของต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
สรรพคุณตะไคร้
ส่วนของน้ำมันสะกัดจาก ตะไคร้หอม
- สามารถนำมาปรุงกับน้ำหอมทาตัวทำให้มีสรรพคุณสามารถป้องกันยุงกัดได้
- หรือจะนำไปใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก
ส่วนของต้น
- นำต้น ตะไคร้ หอมประมาณ 4-5 ต้น ให้ใช้ทั้งต้นแล้วทุบๆ ให้กลิ่นตะไคร้ระเหยออกมาแล้วนำไปวางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ จะสามารถไล่ ยุงหรือแมลงต่างๆ ได้ดีเช่นกัน หรือจะให้ง่ายขึ้น ให้เอาไม้ไปตีหรือทุบที่ต้นตะไคร้ กลิ่นของตะไคร้ก็สามารถไล่ยุงได้แล้ว
ประโยชน์ในทางยา
- สามารถแก้ริดสีดวงในปาก ( คือ ปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
- นำมาปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ได้ดี และแก้จุกเสียดแน่นได้อีกด้วย
- สตรีมีครรภ์ถ้ารับประทานเพื่อให้ตกลูก หรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง “ทางเว็บไซต์ thaiherbtherpy ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้”) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้
วิธีใช้
นำน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากตะไคร้หอมมาทาตามตัวเพื่อไล่แมลง ยุง
สารเคมี
น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9% ประกอบด้วย geraniol 57.6-61.1% Citronellal 7.7-14.2% eugenol, camphor, methyl eugenol.
สมุนไพร จาก Thaiherbtherapy.com
Leave A Comment