ขมิ้นดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aeruginosa Roxb.
วงศ์ :  ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ๆ : กระเจียวแดง, มหาเมฆ, อาวแดงสมุนไพร ขมิ้นดำ เป็นพืชจำพวกเหง้า ลำต้นและหัวเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นจะสูงอยู่ประมาณ 1 เมตร
ลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเหง้า เหง้าหลักมีรูปทรงเป็นรูปไข่ เนื้อว่านจะแบ่งเป็นสามส่วน ชั้นส่วนด้านนอกเป็นสีขาว ชั้นกลางจะมีสีฟ้าถึงสีม่วงอมน้ำเงิน
และชั้นในสุดจะเป็นสีเขียวอมฟ้า แตกแขนงย่อยใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปใบเป็นรูปทรงรี สีเขียวเข้ม มีแถบสีแดงเรื่อ ๆ ตามแนวเส้นกลางใบดอก ช่อดอกจะออกก่อนผลิใบ ใบประดับตอนล่างสีเขียว ปลายแต้มสีม่วงอมชมพู ตอนบนสีม่วงแดง ดอกย่อยมีสีเหลือง ดอกจะมีใบประดับเป็นรูปกรวย
เรียงซ้อนกันอยู่ ปลายของช่อดอกจะมีสีชมพูถึงแดงเข้ม

ประโยชน์ของสมุนไพร ขมิ้นดำ

หัวสด ใช้ในแก้โรคธาตุพิการ เช่น อาการปวดท้อง จุกเสียดท้องอืดท้องเฟ้อ โดยการนำหัวสด ๆ มาโขลกให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับเหล้าขาว คั้นเอาแต่น้ำมากิน
จะหายทันที หากจะใช้เป็นยาถ่ายพยาธิเส้นด้ายก็ใช้กินหัวสด ๆ กับน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุกก่อนเข้านอน เพียงแค่ 3 วัน ตัวพยาธิในร่างกายจะตายจนหมดสิ้น

เหง้า ใช้ทำเป็นยาบีบมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น มดลูกคลายความอักเสบได้

การปลูกสมุนไพรขมิ้นดำ

ว่านชนิดนี้จะขยายพันธุ์ด้วยไหล ปลูกในกระถางควรหากระถางที่ใหญ่หน่อย เพื่อจะทำให้ไหลนั้นเดินทางสะดวก ดินที่ใช้ปลูกให้เอาดินร่วนผสมหญ้าสับหรือฟางข้าว
และเปลือกถั่วนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันดี ก่อนที่จะนำดินลงใส่กระถาง ให้หัวของว่านนั้นโผล่ขึ้นมาจากดิน

ข้อสังเกตุเกี่ยวกับสมุนไพร ขมิ้นดำ

คือ ถ้าดูที่หัวว่านและเนื้อในหัวจะมีลักษณะจะคล้าย ๆ กับว่านหลาย ๆ ชนิด เช่น ว่านใจดำ,ว่านคันทะมาลา, จุดที่จะแตกต่างกันจนเห็นได้ชัดคือ

เหง้าของว่านคันทะมาลามัก จะอวบอ้วนกว่า ข้อตามเหง้าจะถี่ แง่งสั้นมองเห็นได้ ใบเกล็ดมักหลุดออกหมด

ส่วนเหง้าของว่านขมิ้นดำ มักมีตาสีชมพูเหมือนว่านใจดำ แต่ส่วนของข้อจะมีสีดำและห่างกว่าว่านคันทะมาลา ว่านใจดำจะมีข้อบนเหง้าเป็นสีน้ำตาล
นอกจากนี้ยังคล้ายกับว่านขมิ้นชัน ต่างกันที่เนื้อในหัวแก่ของว่านขมิ้นชันเป็นสีเหลืองเข้ม

สมุนไพร จาก Thaiherbtherapy.com